เรียนรู้เพื่อการป้องกัน โรคระบาดไก่ เพื่อไม่ให้สูญเสียและเกิดการขาดทุน

โรคระบาดไก่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สำหรับท่านใดที่เลี้ยงไม่ได้มาตรฐาน หรือวิธีการป้องกันโรค จึงเป็นอะไรที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ส่งผลกระทบหลายอย่างตามมาอีกที สุขภาพของไก่ชนสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เพียงไก่ชน แต่โรคระบาดในสัตว์ถ้าเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลอย่างร้ายแรง ควรเรียนรู้แล้วหาวิธีการป้องกัน การบำรุงรักษาสุขภาพไก่ชน น่าจะเป็นทางออกและช่วยได้เป็นอย่างดี โดยโรคระบาดมักเกิดขึ้นกับไก่ ได้แก่

โรคระบาดไก่ และวิธีการป้องกัน เพื่อให้ฟาร์มไก่ชนไม่เสียหายและเสี่ยงขาดทุน

1.โรคนิวคาสเซิล

โรคระบาดที่อันตรายและส่งผลร้ายต่อฟาร์มไก่ เพราะอาจทำให้เกิดปิดตัวลงได้เลย โดยโรคระบาดนี้มีชื่อว่า โรคนิวคาสเซิล ซึ่งมาจากประเทศ นิวคาสเซิล และมีการแพร่ระบาดเป็นอย่างมาก ส่งผลรวดเร็วที่สุด เพราะตัวไวรัสติดต่อได้จากการหายใจ ทำให้ส่งผลไปต่อการกินอาหารของไก่ น้ำมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อไวรัส จากน้ำมูล น้ำลาย และการขับถ่าย

โดยโรคนี้จะส่งผลให้ ระบบหายใจ ระบบประสาทไก่ ทำงานได้ผิดปกติ เช่น มีน้ำมูลไหล หัวสั่น กระตุก เดินเป็นวงกลม และ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ส่งผลกับการผลิตไข่ หรือ ไม่มีน้ำเชื้อได้ และต่อมาอีกประมาณ 3-4 วัน ไก่จะเสียชีวิตโดยทันทีจากอาการป่วย วิธีการป้องกัน คือ ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยทำมาจาก ลาโซตาเชื้อที่ตายไปแล้ว

2.โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ

โรคนี้สามารถที่จะเกิดได้กับไก่ชนทุกตัว หรือลูกไก่จะมีอาการที่รุนแรงมากกว่า โดยเป็นมาจากเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ระบบหายใจ และทำให้ไก่บางตัวเสียชีวิตได้ จะต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดนี้

อาการของโรคนี้ คือ ทำให้ไก่หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ โก่งคอหายใจ มีเสียงครืดคราดในลำคอ ไอ น้ำมูล ตาแดง และไม่อยากจะกินอาหาร ทำให้ส่งผลต่อการผลิตไข่ไก่ แต่ไม่ถึงกับเสีชีวิตเมื่อสังเกตอาการและรักษาได้ทันเวลา

3.โรคอหิวาต์ไก่

โรคติดต่อที่รุนแรง และน่ากลัวต้องพึงระวังอยู่ตลอด เพราะเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แพร่กระจายได้เร็ว เจ้าของฟาร์มจะต้องสังเกตอาการ เช่น อาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด แต่เมื่อมีอาการที่รุนแรง จะเสียชีวิตทันทีโดยไม่แสดงอาการ สาเหตุโรคนี้อาจมาจาก อาหารและน้ำ แต่โรคนี้เมื่อมีอาการเบื้องต้น สามารถรักษาได้โดย การกินยาปฏิชีวนะ คลอเตตร้าซัยคลิน หรือออกซีเตตร้าซัยคลิน

ป้องกันการเกิดโรคระบาดไก่ โดยการให้วัคซีน ป้องกันโรคอหิวาต์

4.โรคฝีดาษไก่

โรคฝีดาษ ไม่ได้เกิดแค่เพียงในคน ไก่เองก็มีโอกาสเป็นเช่นเดียวกัน โดยส่วนมากจะแพร่ระบาดอยู่ในหมู่ลูกไก่ ติดต่อกันได้โดยการสัมผัส และ ยุงลาย โดยอาการอาจยังไม่รุนแรง สามารถที่จะสังเกตได้จาก จุดสีเทาพองที่บริเวณใบหน้า มีผื่น และผิวหนัง ทุกคนจะเห็นได้ชัด และรีบรักษาก่อนจุดสีเทาจะขยายตัวแตกออก เพราะไก่จะเกิดอาการซึมเลยทันที ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ และตายตามเป็นอันดับ หรือ เกิดกรณีร้ายแรง คือไก่ชนของทุกท่านมีโอกาสตายได้เลยทันที
โดยวิธีการป้องกัน โรคฝีดาษไก่ คือการที่ทุกคนจะต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน

5.โรคหวัดติดต่อหรือหวัดหน้าบวม

โดยโรคนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก และมักเกิดกับ ไก่รุ่นและ​ไก่ใหญ่ เกิดจาก​เชื้อแบคทีเรีย ที่ปะปนอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำตาของไก่ ซึ่งจะมีสภาวะเหมือนอาการป่วย แต่จะรักษาได้ง่าย ไก่ชนที่ติดหวัดจะแสดงอาการได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถสังเกตอาการจาก จาม มีน้ำตา และน้ำมูกอยู่ในช่องจมูก ต่อมาอาจส่งกลิ่นเหม็นได้อีกด้วย

อาการรุนแรงของโรคสังเกตได้ว่า ตาปิดไม่ได้และบริเวณอื่นๆ มีอาการบวมมากขึ้นอย่างชัดเจน และส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ แต่มีวิธีการรักษา โดยใช้ยาซัลฟาไธอาโซล หรือ ออกซี่เตตร้าซัยคลิน เป็นต้น หรือยาชนิดอื่นที่ออกผลคลายกัน

โดยวิธีการป้องกันโรคนี้ อยู่ที่ระบบการเลี้ยงดูของแต่ละฟาร์ม มีพื้นที่เหมาะสมหรือไม่ และจะต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

6.โรคกล่องเสียงอักเสบติดต่อ

โรคนี้มีโอกาสเกิดกับอายุไก่ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นไป โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และไก่ชนที่เกิดอาการ หายใจไม่สะดวก ยื่นคอ และเคลื่อนไหวศีรษะไปข้างหน้า จะมีการอ้าปากเป็นพัก เกิดจากกล่องเสียงมีอาการอับเสบ ไม่สามารถที่จะส่งเสียงออกมาได้ แต่ถ้าเกิดอาการรุนแรง อาจเสียชีวิตได้เลย

การป้องกันโรคนี้ อยู่ที่พื้นที่การเลี้ยงดู จะต้องมีอาการถ่ายเทที่เหมาะสม และป้องกันการติดต่อด้วยการฉีดวัคซีน

7.โรคมาเร็กซ์

โรคมาเร็กซ์ สามารถที่จะพบได้บ่อยกับกลุ่ม ไก่รุ่นกับไก่สาว มากกว่าโดยเกิดจากไวรัสที่บริเวณโคนขนของไก่ จะทำให้แสดงอาการเหงาได้ อ่อนเพลีย ไม่กินน้ำและอาการ ทำให้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ หรือ ให้ทำการสังเกตอาการของไก่ก่อน ท่าทาง การทรงตัวผิดปกติ ไก่เดินโอ้อวก หรือ ไม่สามารถที่จะเดินได้ นี้ก็เป็นอีกอาการที่จะต้องการการสังเกตอย่างมาก โดยเมื่อได้รับผลกระทบแล้ว อาจไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้เหมือนไก่ปกติ หรือช้ามากกว่าเดิม

วิธีการป้องกัน อยู่ที่การเลี้ยงดูไก่ชนแต่ละค่าย ไม่ควรที่จะให้ไก่เกิดอาการเครียดมากเกินไป และทำการฉีดวัคซีนป้องกัน

สรุปเนื้อหา

โรคระบาดไก่ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อยู่ที่การดูแลและการจัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยการป้องกันควรปรึกษาสุขาภิบาล ในการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น คนเลี้ยงไก่ชน หรือ คนเลี้ยงไก่เพื่อบริโภคควรทำการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเกิดขึ้น

หากเนื้อหามีข้อผิดพลาดประการใด ทางทีมงาน คนรักษ์ไก่ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย